สิทธิการรักษา

  1. สิทธิ์เบิกได้ (โครงการจ่ายตรง อปท.)
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. เตรียมเอกสารบัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน หรือ สูติบัตร ของผู้รับการรักษา
    • กรณีไม่มีหลักฐานแสดงหรือหลักฐานไม่ครบ
      • ต้องชำระเงินเอง
  2. สิทธิ์เบิกได้ (โครงการจ่ายตรง กรมบัญชีกลาง)
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. เตรียมเอกสารบัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน หรือ สูติบัตร ของผู้รับการรักษา
    • กรณีไม่มีหลักฐานแสดงหรือหลักฐานไม่ครบ
      • ต้องชำระเงินเอง
  3. สิทธิ์ประกันสังคม (ปกส.) รพ.วชิระภูเก็ต – กรณีเจ็บป่วยที่ มิได้ เกิดจากการทำงาน
    • กรณีเจ็บป่วยที่ มิได้ เกิดจากการทำงาน
      1. เตรียมเอกสารบัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของผู้รับการรักษา
    • หากไม่มีหลักฐานแสดงหรือหลักฐานไม่ครบ
      • ต้องชำระเงินเอง จากนั้นนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ไปขอเบิกเงินคืนที่ประกันสังคมจังหวัดภูเก็ต
  4. สิทธิ์ประกันสังคม (ปกส.) รพ.วชิระภูเก็ต – กรณีที่เจ็บป่วยจากการทำงาน
    • กรณีเจ็บป่วยจากการทำงาน
      1. เตรียมเอกสารบัตรประชาชนของผู้รับการรักษา
      2. นายจ้างต้องกรอกรายละเอียดลงใน 2 แบบฟอร์มคือ กท.44 และ กท.16 และต้องประทับตราบริษัทมาด้วยทุกครั้ง (ตามระเบียบของประกันสังคม)
        • Download: แบบฟอร์ม-กท.44 , แบบฟอร์ม-กท.16
        • ตัวอย่าง: การกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม ตัวอย่าง กท.44 , ตัวอย่าง กท.16
    • หากไม่มีหลักฐานแสดงหรือหลักฐานไม่ครบ
      • ต้องชำระเงินเองก่อน จากนั้นนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ไปขอเบิกเงินคืนที่ประกันสังคมจังหวัดภูเก็ต (การที่ผู้ป่วยต้องชำระเงินเองก่อนเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานประกันสังคม)
  5. สิทธิ์ประกันสังคม (ปกส.) ทุพพลภาพ รพ.วชิระภูเก็ต
      1. ใช้สิทธิ์ได้เฉพาะผู้ประกันตนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพแล้วเท่านั้น
      2. ต้องกรอกแบบคำขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
      3. บัตรผู้ประกันตนหรือ บัตรประชาชนของผู้รับการรักษา
        • Download: แบบฟอร์มขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ-สปส2-19
        • ตัวอย่าง: การกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม ขอรับค่าบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ-สปส2-19เอกสารประกอบด้วย
    • กรณีไม่มีหลักฐานแสดงหรือหลักฐานไม่ครบ
      • ต้องชำระเงินเอง
  6. สิทธิ์ประกันสังคม (ปกส.) สถานพยาบาลอื่นที่มิใช่ รพ.วชิระภูเก็ต
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. เตรียมเอกสารบัตรประชาชนของผู้รับการรักษา เพื่อใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์ online ยืนยันอีกครั้ง
        *** หากสิทธิ์ประกันสังคม (ปกส.) ของผู้ป่วยยังเป็นสถานพยาบาลอื่นที่มิใช่ รพ.วชิระภูเก็ต ผู้ป่วยต้องชำระเงินเองก่อนจากนั้นนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ไปขอเบิกเงินคืนที่ประกันสังคมจังหวัดภูเก็ต (การที่ผู้ป่วยต้องชำระเงินเองก่อนเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานประกันสังคม)
  7. สิทธิ์บัตรทอง รพ.วชิระภูเก็ต
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. เตรียมเอกสารบัตรประชาชนหรือ ทะเบียนบ้านหรือ สูติบัตร ของผู้รับการรักษา
    • กรณีไม่มีหลักฐานแสดงหรือหลักฐานไม่ครบ
      • ต้องชำระเงินเอง
  8. สิทธิ์บัตรทอง รพ.ถลาง /ป่าตอง
    • กรณีมีใบส่งตัว
      1. เตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชนหรือ ทะเบียนบ้านหรือ สูติบัตรของผู้รับการรักษา
      2. ใบแสดงผลตรวจสอบสิทธิ์ Online (รพ.ฉลอง ตรวจสอบให้)
    • กรณีไม่มีใบส่งตัว
      • ชำระเงินเอง
  9. สิทธิ์บัตรทอง รพ. อบจ. ภูเก็ต
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. เตรียมเอกสารบัตรประชาชนของผู้รับการรักษา เพื่อใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์ online ยืนยันอีกครั้ง
        *** หากสิทธิ์บัตรทองของผู้ป่วยเป็นของ รพ.อบจ.ภูเก็ต ผู้ป่วยต้องชำระเงินเอง
  10. สิทธิ์บัตรทองต่างจังหวัด กรณีฉุกเฉิน / ผู้พิการต่างจังหวัด
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. บัตรประชาชนหรือ ทะเบียนบ้านหรือ สูติบัตร
      2. ใบแสดงผลตรวจสอบสิทธิ์ Online (รพ.ฉลอง ตรวจสอบให้)
      3. ต้องกรอกแบบคำขอใช้สิทธิ์บัตรทองกรณีอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
        • Download: แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ์บัตรทองกรณีอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
        • ตัวอย่าง: การกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม ขอใช้สิทธิ์บัตรทองกรณีอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
          *** การพิจารณาให้ใช้สิทธิ์บัตรทองต่างจังหวัดกรณีอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษาตามหลักเกณฑ์กรณีฉุกเฉินของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถ้าไม่เข้าเกณฑ์อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ผู้รับบริการต้องชำระเงินเอง
    • กรณีไม่มีใบส่งตัว
      • ชำระเงินเอง
  11. สิทธิ์บัตรทอง กรณีสิทธิว่าง (มาตรา 8)
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน
      2. ใบแสดงผลตรวจสอบสิทธิ์ Online ขึ้นว่า สิทธิ์ว่าง (รพ.ฉลอง ตรวจสอบให้)
      3. กรอกแบบฟอร์มขอลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ เพื่อขอลงทะเบียนกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยใช้เวลา 15-30 วัน ในอนุมัติ ในระหว่างรอการอนุมัติสามารถใช้สิทธิ์ว่างในการรักษาได้
        • Download: แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ์บัตรทองกรณีสิทธิว่าง
        • ตัวอย่าง: การกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ์บัตรทองกรณีสิทธิว่าง
  12. สิทธิ์บัตรทอง กรณีเด็กแรกเกิด
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. สูติบัตร
      2. ใบแสดงผลตรวจสอบสิทธิ์ Online ขึ้นว่า สิทธิ์ว่าง (รพ.ฉลอง ตรวจสอบให้)
      3. กรอกแบบขอลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ เพื่อขอลงทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยใช้เวลา 15-30 วัน ในอนุมัติ ในระหว่างรอการอนุมัติสามารถใช้สิทธิ์ว่างในการรักษาไปก่อนได้
        • Download: แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ์บัตรทองกรณีเด็กแรกเกิด
        • ตัวอย่าง: การกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม ขอใช้สิทธิ์บัตรทองกรณีเด็กแรกเกิด
  13. สิทธิ์บัตรแรงงานต่างด้าว
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (สีชมพู)
      2. บัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว (สีขาว)
      3. หนังสือเดินทาง (Passport)
  14. สิทธิ์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
    • เอกสารประกอบด้วย
      1. รายงานประจำวันของตำรวจ
        • จากสถานีตำรวจท้องที่ ที่เกิดเหตุ ให้ระบุชื่อ-สกุล ของผู้ขับขี่ ถ้ามีผู้โดยสาร ให้ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้โดยสารด้วย หมายเลขทะเบียนรถคันเกิดเหตุ กรณีรถป้ายแดงหรือรถไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ให้ระบุเลขตัวถังด้วย ระบุวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ
      2. บัตรประชาชนผู้ป่วย
        • กรณียังไม่ทำบัตรประชาชน ให้ใช้สูติบัตร และทะเบียนบ้านของผู้ป่วย และบัตรประชาชนของบิดาหรือมารดา (ผู้ป่วยเป็นผู้โดยสารใช้บัตรประชาชนของผู้ขับขี่ด้วย)
      3. สมุดคู่มือทะเบียนรถ
        • ใช้เอกสารหน้าที่เป็นชื่อเจ้าของรถคนปัจจุบัน กรณีเป็นรถป้ายแดงให้ใช้สัญญาซื้อขาย หรือเอกสารจากร้านขายรถที่ระบุเลขตัวถัง
      4. กรมธรรม์ประกันภัยของรถที่ประสบอุบัติเหตุ
    ***หมายเหตุ***
    – กรณีรถคันเกิดเหตุไม่มีประกันพรบ. แต่ตัวผู้ขับขี่-ผู้โดยสาร มีสิทธิประสังคม สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาได้เลย
    – กรณีรถคันเกิดเหตุไม่มีประกันพรบ. แต่ตัวผู้ขับขี่-ผู้โดยสารมีสิทธิ์บัตรทอง / สิทธิ์เบิกได้จ่ายตรง ผู้ขับขี่-ผู้โดยสารต้องชำระเงินเองจนกว่าค่ารักษาในครั้งนั้นเกิน 30,000 บาท จึงจะสามารถใช้สิทธิ์บัตรทองหรือสิทธิ์เบิกได้จ่ายตรงที่ตนมี ในการรับผิดชอบค่ารักษาเฉพาะส่วนที่เกิน 30,000 บาทแทน